เมนู

ในสัมปุยุตธรรมที่เหลือ ก็นัยนี้. แต่เทศนานี้ท่านทำด้วยหัวข้อว่า
สัญญา.
________________________

ปัจจยาการ 12


วิสัชนา 12 มีวิสัชนาใน อวิชชา เป็นต้น พระธรรมเวนาบดี.
สารีบุตรแสดงด้วยองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท.
กายทุจริตเป็นต้นชื่อว่า อวินทิยะ ความว่า ไม่ควรได้ เพราะ
อรรถว่าไปควรบำเพ็ญ. ธรรมชาติใด ย่อมได้ซึ่งอวินทิยะนั้น ฉะนั้น
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา.
กายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า วินทิยะ - ควรได้ เพราะตรงกันข้าม
กับอวินทิยะนั้น. ธรรมชาติใด ย่อมไม่ได้ซึ่งวินทิยะนั้น ฉะนั้น
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา.
ธรรมชาติใด ทำอรรถคือกองแห่งขันธ์ทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำ
อรรถคือความต่อแห่งอายตนะทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำอรรถคือความ
ว่างแห่งธาตุทั้งหลายมิให้ปรากฏ ทำอรรถคือความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์
ทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำอรรถคือความจริงแห่งสัจจะทั้งหลายมิให้ปรา-
กฏ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา, ทำอรรถ 4 อย่างที่กล่าว

แล้วด้วยสามารถแห่งการบีบคั้นเป็นต้น แห่งสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะ
เป็นต้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า อวิชชา.
ธรรมชาติใด ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้แล่นไปในกำเนิด, คติ,
ภพ, วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง ในสังสารวัฏอันไม่มีที่สุด ฉะนั้น
ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า อวิชชา.
ธรรมชาติใด ย่อมแล่นไปในบัญญัติทั้งหลายมีหญิงและบุรุษ
เป็นต้น อันไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์, ไม่แล่นไปแม้ในวิชชมานบัญญัติมี
ขันธ์เป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า อวิชชา.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชาเพราะปกปิดเสียซึ่งวัตถุและอารมณ์
แห่งวิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้น และธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นปฏิจจ-
สมุปบาทและที่เป็นปฏิจจสมุปปันนะ.
ธรรมชาติใด ย่อมปรุงแต่งซึ่งสังขตธรรม1 ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
จึงชื่อว่า สังขาร.
ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้ ฉะนั้น ธรรมชาดิน น
จึงชื่อว่า วิญญาณ.
ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า
นาม, อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใด ย่อมน้อมไปสู่อารมณ์ ฉะนั้น
1. สังขตธรรม : จิต 89, รูป 28.

ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า นาม, ธรรมชาติใด ย่อมแตกดับไป ฉะนั้น
ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า รูป.
ธรรมชาติใด ย่อมแผ่ไปในจิตและเจตสิกอันเป็นที่เกิด และ
นำไปสู่สังสารทุกข์อันยืดเยื้อต่อไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า
อายตนะ.
ธรรมชาติใด ย่อมถูกต้อง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า
ผัสสะ.
ธรรมชาติใด ย่อมเสวยอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึง
ชื่อว่า เวทนา.
ธรรมชาติใด ย่อมอยากได้ในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
จึงชื่อว่า ตัณหา.
ธรรมชาติใด ย่อมเข้าไปยึดในอารมณ์ คือย่อมถือไว้อย่างมั่นคง
ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า อุปาทาน.
ธรรมชาติใด ย่อมเป็น คือย่อมเกิด ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
จึงชื่อว่า ภพ.
การเกิด ชื่อว่า ชาติ .
การแก่ ชื่อว่า ชรา.
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมตายด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติ
นั้น จึงชื่อว่า มรณะ.

สัจนิทเทส


[10] ทุกข์ ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย ....ทุกขนิโรธ ... ทุกข-
นิโรธคามีนีปฏิปทา... รูป... รูปสมุทัย...รูปนิโรธ ...รูปนิโรธคามิ-
นีปฏิปทา ... เวทนา ... สัญญา... สังขาร ... วิญญาณ ...จักขุ ฯลฯ
ชรามรณะ ... ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ... ชรามรณนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ( ทุกอย่าง ) ควรรู้ยิ่ง.
[11] สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ ภาพที่ควรละแห่ง
ทุกขสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธ สภาพที่ควรเจริญ
แห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งรูป ภาพที่ควร
ละแห่งรูปสมุทัย ภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธ สภาพที่ควรเจริญ
แห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา ภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ แห่งจักขุ ฯลฯ
สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งชรามรณะ สภาพที่ควรละแห่งชรามรณสมุทัย
สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ ภาพที่ควรเจริญแห่งชรา-
มรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
12] ภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ สภาพที่แทง
ตลอดด้วยการลุทุกขสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งทุกข์
นิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพ
ที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้รูป ภาพที่แทงตลอดด้วยการละรูปสมุทัย